สำหรับใครที่สนใจอยากเป็น ตัวแทนจำหน่าย หมายถึง ผู้ที่สนใจสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง แล้วต้องการนำสินค้านั้นๆ ไปขายต่อให้กับลูกค้า แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าหรือไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์โดยตรง แล้วนำสินค้าไปขายต่อให้กับลูกค้า หน้าที่โดยหลักของตัวแทนจำหน่ายคือช่วยขนายฐานลูกค้าด้วยการกระจายสินค้าให้กับร้านค้าหรือเจ้าของแบรนด์ โดยการเป็นตัวแทนจำหน่าย แบ่งได้2แบบ คือ ตัวแทนจำหน่ายสต๊อกสินค้า และ ตัวแทนจำหน่ายไม่สต๊อกสินค้า
ทั้ง2แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร ต้องทำอย่างไร บทความนี้ XSelly จะมาแนะนำแนวทางดีๆ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ
ตัวแทนจำหน่ายสต๊อกสินค้า (ต้นทุนราคาส่ง)
ตัวแทนจำหน่ายแบบสต๊อกสินค้า คือ ตัวแทนจำหน่ายที่นำเงินไปซื้อสินค้ามาเก็บไว้ หรือนำเอาสินค้ามาเก็บไว้ในสต๊อกเพื่อขายสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งต้องมีโกดังหรือคลังสินค้าสำหรับจัดเก็บยิ่งซื้อสินค้ามากเท่าไหร่ ก็จะได้ราคาส่งที่ต่ำลง และต้นทุนก็จะถูกลงมากเท่านั้น ส่งผลทำให้มีกำไรจากส่วนต่างของราคาขายปลีกมากขึ้นนั่นเอง
ในปัจจุบันยังมีการเปิดรับตัวแทนจำหน่ายในรูปแบบเปิดบิล ตามราคาที่ทางร้านตั้งไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ได้เข้ามาร่วมทำธุรกิจกับเจ้าของแบรนด์อีกด้วย ทำให้การกระจายสินค้าเป็นไปได้รวดเร็วเข้าถึงลูกค้าง่ายขึ้นนั้นเอง
✅ ข้อดี ตัวแทนจำหน่ายสต๊อกสินค้า
❌ ข้อเสีย ตัวแทนจำหน่ายสต๊อกสินค้า
- ซื้อสินค้าจากผู้ขายโดยตรง ยิ่งสั่งมากยิ่งมีต้นทุนถูกลง
- ต้องแบกรับความเสี่ยงเอง
- หากบริหารจัดการสต๊อกไม่ดี อาจขาดทุน
- มีต้นทุนในการจัดเก็บ แพ็คและส่งสินค้าเพิ่มเข้ามา
ตัวแทนจำหน่ายไม่สต๊อกสินค้า (เริ่มง่าย ไม่มีต้นทุน)
ตัวแทนจำหน่าย ไม่สต๊อกสินค้า คือ ตัวแทนจำหน่ายที่ไม่ต้องซื้อสินค้าไปสต๊อกเอง ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องส่งของเอง เพียงแค่ขายสินค้า ทำการตลาดในช่องทางโซเชียลมิเดียต่างๆ เพื่อมองหาลูกค้าให้ร้านค้า ปิดออเดอร์ เมื่อลูกค้าโอนเงินหรือตกลงซื้อ ตัวแทนจำหน่ายจะต้องมาแจ้งร้านค้าให้ดำเนินการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า
✅ ข้อดี ตัวแทนจำหน่ายไม่สต๊อกสินค้า
- ไม่ต้องสต๊อกสินค้า
- ไม่ต้องลงทุน
- ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง
❌ ข้อเสีย ตัวแทนจำหน่ายไม่สต๊อกสินค้า
- อาจได้ผลตอบแทนต่อชิ้นน้อยลง แต่ถ้าขายได้มากชิ้น หลายรายการก็ไม่ต้องกังวลในข้อนี้
- ไม่สามารถควบคุมงานทั้งหมดเองได้ เช่น การจัดส่ง แต่ถ้าเจ้าของแบรนด์มีระบบหลังบ้านที่ดีก็ทำให้ตัวแทนสามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งได้เอง แบบง่ายๆ
- สามารถเกิดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารกับร้านค้าเจ้าของแบรนด์ได้ ซึ่งถ้าเจ้าของแบรนด์ลงข้อมูลสินค้าในระบบหลังบ้านครบถ้วน ก็ทำให้ตัวแทนเข้าใจและนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ง่าย แม่นยำ
- หลายอย่างไม่สามารถตอบลูกค้าได้ทันที ต้องถามไปยังร้านค้าก่อน เช่น มีสต๊อกไหม หรือ เพิ่มสินค้าอีก 1 รายการไปในออเดอร์ทันส่งรอบนี้ไหม โดยเรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องง่าย ทำได้ทันที หากมีระบบหลังบ้านที่ดี เช่น XSelly ที่ตัวแทน แอดมิน และเจ้าของแบรนด์ สามารถทำเรื่องเหล่านี้ผ่านแอปได้เลย โดยไม่ต้องแชทคุยกัน