ระบบตัวแทนจำหน่าย Dropship คือ การขายสินค้าโดยที่ไม่ต้องสต๊อกสินค้าด้วยตัวเอง แต่มีซัพพลายเออร์เป็นคนดำเนินการเรื่องจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าให้ในนามของคุณ หรืออาจจะในนามของซัพพลายเออร์ แล้วแต่ตกลง มาขายบนโลกออนไลน์ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องจัดการในเรื่องของการผลิต สต๊อกสินค้า การจัดส่ง ตัวแทนมีหน้าที่แค่เพียงการโพสต์ขาย หาช่องทางการขายสินค้า และทำให้ลูกค้าสนใจสินค้าเท่านั้น แต่สำหรับหน้าที่ของการผลิต สต็อกสินค้า การแพคของ ส่งของถึงมือลูกค้า เป็นหน้าที่ของเจ้าของแบรนด์หรือบริษัทนั้นๆ
การทำ Dropship คือ ธุรกิจที่ให้คุณสามารถเริ่มต้นได้ง่ายในหลักพัน ไม่ต้องลงทุนสั่งสินค้ามาเก็บไว้ อาจจะแค่ลงทุนทำการตลาด หรือลงแรงโพสต์สินค้า นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกสินค้าที่หลากหลายให้กับลูกค้าอีกด้วย
สำหรับใครที่ยังคิดอยู่ว่า อยากขายของออนไลน์ เริ่มยังไงดี อยากลองให้ลองศึกษา Dropship ก่อนนิดนึง จริงๆ การ ขายของ Dropship นั้นไม่ยาก เพราะไม่ต้องผลิตสินค้า นำเข้าสินค้า หรือจัดส่งเอง โดยสามารถเริ่มจากการเลือกสินค้าที่คุณต้องการขาย โดยอาจจะดูว่าในตลาดยังมีช่องว่างสำหรับสินค้าตัวไหนที่น่าจะมีโอกาส จากนั้นก็เลือกช่องทางในการขาย บน Social Media ตามที่สนใจหรือถนัดได้เลย
ขายของออนไลน์แบบดรอปชิป (DROPSHIP) ต้องทำอย่างไร
1. เลือกสินค้าดรอปชิปที่จะขาย
หาสินค้าที่เราสนใจต้องการขาย อาจหาสินค้าที่เป็นที่นิยมตามเทรนด์ในช่วงนั้นๆ หรือสินค้าตามหมวดหมู่ต่างๆที่ต้องซื้อกิน ซื้อใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ตามราคา หรือแบรนด์ที่สนใจ
2. เลือกร้านค้า บริษัทหรือซัพพลายเออร์ ที่ต้องการทำ ดรอปชิป(Dropship)
หา ซัพพลายเออร์ หรือผู้ให้บริการ ดรอปชิป (Dropship) ที่สนใจโดยการค้นหาง่าย ๆ จากการ Search Google นั่นแหละ โดยเทคนิคก็คือ พิมพ์ Dropship หรือ ดรอปชิป แล้วตามด้วยสินค้าที่สนใจนำมาขาย
3. เสนอตัวเป็นตัวแทนขาย
คุยตกลงกับร้านค้า หรือ ซัพพลายเออร์ เพื่อขอใช้รูปภาพและรายละเอียดสินค้ามาขายผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เปิดเว็บไซต์หรือโฆษณาผ่านช่องทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อทำการขายสินค้าแบบ ดรอปชิปออนไลน์
4. โอนเงินค่าสินค้า
เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ในการขายสินค้า ให้ลูกค้าโอนเงินมาที่เรา และเราจะโอนเงินไปให้ ซัพพลายเออร์ หรือเจ้าของร้านค้าเพื่อส่งของให้ลูกค้า ในบางกรณีเราอาจจำเป็นจะต้องยอมสำรองจ่ายค่าสินค้าให้ซัพพลายเออร์หรือร้านค้าก่อนแล้วค่อยกลับมารับเงินจากลูกค้าในตอนหลัง หรือบางกรณีจะเป็นการให้ลุกค้าโอนเข้าบัญชีธนาคารของซัพพลายเออร์โดยตรง และรับเป็นค่าคอมมิชชั่นทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน
5. ส่งที่อยู่ลูกค้า
เมื่อชำระเงินให้ซัพพลายเออร์หรือร้านค้าที่เราได้ทำการดรอปชิป(Dropship)ไว้แล้ว ให้เราส่งที่ข้อมูลรายละเอียดการจัดส่งให้กับซัพพลายเออร์หรือร้านค้า เพื่อให้ทำการจัดส่งสินค้าให้แทนเรา
ข้อดีและข้อเสียของการดรอปชิป (Dropship)
✅ ข้อดี การทำดรอปชิป (Dropship)
- การขาย สินค้าดรอปชิป ใช้เงินลงทุนต่ำหรืออาจไม่ต้องลงทุนเลย
- เลือกขายสินค้าได้หลากหลาย สามารถขายได้พร้อมกันหลายๆอย่าง
- มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อย หรือแทบไม่มีเลย
- ประหยัดเวลาในการทำธุรกิจ ลดต้นทุนในการทำสื่อต่างๆ เพราะสามารถนำรูปภาพ คลิป หรือรายละเอียดข้อมูลต่างๆของทางร้านค้าหรือซัพพลายเออร์มาใช้ได้ทันที
- ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในสินค้ามาก เพราะสามารถสอบถามข้อมูลได้จาก ร้านค้าหรือซัพพลายเออร์ที่ได้ทำการตกลงทำ ดรอปชิป (Dropship) ไว้
❌ ข้อเสีย การทำดรอปชิป (Dropship)
- การแข่งขันสูงเข้าถึงง่ายเกินไป เพราะใครๆ ก็เริ่มต้นธุรกิจได้
- กำไรอาจไม่มาก ถ้ามีการขายตัดราคากันเองจากตัวแทนอื่นๆ หากทางแบรนด์หรือซัพพลายเออร์ไม่ได้มีการควบคุมราคาไว้
- ไม่รู้จำนวนสต๊อกที่แท้จริง ไม่สามารถ จัดการสต๊อกสินค้า เองได้ จึงไม่รู้ว่าเหลือสินค้าในสต๊อกเท่าไหร่ หากไม่ได้มีการใช้ระบบหลังบ้านที่ดีที่ทำให้ดูสต๊อกได้ทันที real time เช่น XSelly
- ไม่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับสินค้าชนิดนั้น ๆ อาจไม่เคยเห็น หรือสัมผัสสินค้าจริงเลยก็ได้ ทำให้ไม่สามารถบอกสรรพคุณเกี่ยวกับสินค้าได้อย่างที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ปิดการขายได้ยากถ้าทางแบรนด์หรือร้านขายส่งไม่ได้เตรียมข้อมูลสินค้าไว้ให้ แต่ถ้าเคยใช้สินค้านั้นอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาทำรีวิวที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้าที่สนใจ และปิดการขายได้ง่ายขึ้น