1.  หาสินค้า หรือ กลุ่มลูกค้า

สำหรับมือใหม่ที่กำลังอยากจะขายของออนไลน์ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มขายอะไร ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ดูอาจจะทำให้คุณสามารถรู้ว่าอยากจะขายอะไรแล้วควรเริ่มจากจุดไหนก่อนดี

โดยแบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 หาของก่อน > เลือกกลุ่มลูกค้า

คุณอาจไปเจอสินค้าที่น่าสนใจ หรือเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น จึงหาข้อมูลแหล่งที่มา ของสินค้านั่นก่อน แล้วจึงหากลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมกับสินค้าที่คุณได้รับมา

กรณีที่ 2 เลือกกลุ่มลูกค้า > หาของ

คุณอาจมีกลุ่มลูกค้าช่วงอายุ หรือ ความสามารถในการซื้อ ที่สนใจอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงหาของสินค้าที่จะเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าของคุณนั่นเอง

2. เลือกชื่อที่สะดุดตา จำได้ง่าย

การตั้งชื่อร้าน เป็นหนึ่งสิ่งที่ทำให้ร้านเป็นที่น่าจดจำ ต้องตั้งชื่อยังไงให้ลูกค้าจำชื่อร้านของคุณได้ อาจจะมีชื่อที่แปลกตา หรือ ชื่อที่ดูธรรมดา แต่สะดุดตา เขียนง่าย พูดติดปาก จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงตัวสินค้าและร้านของคุณได้ง่ายขึ้น ค้นหาเจอง่าย ปัจจุบันถ้าต้องการอยากหาอะไรเพียง ค้นหาใน Google หรือ Facebook ก็จะได้เจอสินค้าที่ต้องการง่ายขึ้น  ถ้าคุณคิดชื่อที่ได้ตรงกับคำศัพท์ ที่ลูกค้าต้องการหา ก็จะทำให้คุณมีโอกาสขายสินค้าได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

3. ตั้งงบประมาณลงทุน

งบประมาณในการลงทุน เป็นสิ่งแรกที่ต้องวางแผน จะเริ่มขายของออนไลน์ได้ต้องคำนึงถึงต้นทุนและกำไร หาวิธีปรับลดต้นทุน ทั้งนี้ควรจะครอบคลุมถึงรายจ่ายอื่นๆด้วย เช่น ค่าจัดส่ง ค่าแพ็กสินค้า ค่าโฆษณา ฯลฯ ดังนั้น คุณควรวางแผนให้ดี ว่าเงินทุนของคุณนี้จะสามารถทำให้คุณดำเนินการได้แบบไม่ต้องมีปัญหาหยิบยืมให้เป็นหนี้สินทีหลัง

4. ช่องทางการขาย

จะสังเกตได้ว่าในปัจจุบันมีหลกหลายแพลตฟอร์ม ที่รองรับการ ขายของออนไลน์   เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการขายและการตลาด สื่อเหล่านี้สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้ซื้อและผู้ขายโต้ตอบกันได้ทันที ช่วยประหยัดต้นทุนการโปรโมทได้มาก

โดยแบ่งได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. โซเชียล เช่น Facebook IG Twitter  Youtube TikTok  Line
  2. มาเก็ตเพลส เช่น Lazada Shoppe
  3. เว็บไซต์ขายของ เช่น เว็บไซต์ส่วนตัวภายใต้ชื่อโดเมนเนมของคุณเอง

5. การตั้งราคาสินค้า

อาจมีราคาไม่ได้ตายตัว ขึ้นอยู่กับสินค้า และกลุ่มลูกค้าที่ต้องการขาย

โดยสามารถเป็นได้ หลักๆ 3 แบบดังนี้

  1. ตั้งราคาตามกลุ่มสินค้า ถ้าเป็นสินค้าที่เป็นที่นิยมตามกระแส อาจตั้งราคาตามกลุ่มราคาสินค้าในขณะนั้น
  2. ตั้งตามกลุ่มลูกค้า ราคาอาจเป็นราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่ทางร้านต้องการขายตามกำลังการซื้อของลูกค้ากลุ่มนั้นๆ
  3. การตั้งราคาสินค้าเอง จะตั้งตามใจแม่ค้าอาจจะเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม สินค้าหายาก สินค้าที่เฉพาะเจาะจง สินค้าที่ทางคุณมั่นใจว่าสามารถขายได้แน่นอนแม้ราคาจะสูงก็ตาม

6. การทำการตลาด

คือการประกาศให้กลุ่มลูกค้าของคุณรู้จัก สินค้าและร้านของคุณ ทำให้มีคนเห็นร้านของคุณให้ได้มากที่สุด ขึ้นอยู่กับเงินทุนที่คุณสามารถลงทุนทำโฆษณา การตลาด ได้มากเท่าที่ทำได้

7. ทำการขาย

  • ปิดการขาย เมื่อลูกค้าทักมาสอบถามจะต้องสามารถปิดการขายให้ได้
  • ทำโปรโมชั่นเพิ่มยอดขาย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าสนใจที่จะซื้อสินค้าจากร้านคุณมากขึ้น

8. การชำระเงิน

ร้านค้าควรเตรียมช่องทางการชำระเงินให้มีความหลากหลาย คุณควรเปิดบัญชีสำหรับร้านของคุณกับธนาคารที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น ที่สำคัญผู้ที่เริ่มต้นขายของออนไลน์ต้องมั่นใจว่าจะสามารถคุมช่องทางการชำระเงินได้ทั้งหมด และตรวจสอบเงินเข้าเงินออกได้ในทันที  เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าเวลา ชำระเงิน เช่น

  • การเก็บเงินปลายทาง,
  • การโอนจ่ายเงินผ่าน e-Banking,
  • การจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต,
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส,
  • จ่ายผ่านบัญชีออนไลน์อื่น ๆ (PayPal, Rabbit LINE pay, mPay)

และควรระบุค่าธรรมเนียมในการจัดส่งให้ชัดเจนด้วย อีกทั้ง ต้องใส่ใจลูกค้าและรับผิดชอบหากเกิดกรณีผิดพลาด เช่น หากส่งสินค้าผิดหรือสินค้าเสียหาย(จากต้นทางที่ร้าน) อาจรับผิดชอบโดยการโอนเงินคืนให้ลูกค้า หรือเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ฟรี เป็นต้น

9. ส่งของถึงมือลูกค้า

การส่งของให้ลูกค้า ควรศึกษาให้ดี ต้องเลือกระบบขนส่งสินค้าที่ส่งของได้เร็ว ง่าย สะดวก มีบริการที่ดี ที่สำคัญคือ ค่าส่งไม่แพง เพื่อให้ “แม่ค้าออนไลน์” ได้กำไรมากขึ้น อาจพิจารณาจากบริการต่างๆ ของระบบขนส่งส่ง เช่น

  • มีบริการการนัดหมาย Pick up Service ถึงที่ ฟรี!
  • มีบริการเก็บเงินปลายทางให้ลูกค้า
  • มีบริการส่งเร็ว/ส่งราคาถูก ให้ลูกค้าเลือกได้ตามต้องการ
  • ตรวจสอบได้ง่ายหากส่งไม่ถึง โดยเฉพาะพัสดุที่ส่งแบบเก็บเงินปลายทาง (COD) เพราะถ้าส่งไม่ถึงและลูกค้าไม่ตามของ เราก็สูญทั้งค่าสินค้า และค่าจัดส่ง

10. การทำบัญชี

การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้คุณสามารถสรุปยอดขาย ผลกำไร ขาดทุน ยอดเก็บเงินปลายทาง (COD) เพื่อเป็นการวางแผนค่าใช้จ่ายในเดือนต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการสรุปบัญชีรายรับรายจ่ายทุกเดือน และเมื่อเราทำสรุปบัญชีรายเดือนทุกเดือน เราก็จะสามารถรวบรวมรายการเพื่อทำสรุปบัญชีรายปีได้ง่ายขึ้น รวมถึงง่ายต่อการยื่นภาษีนั่นเอง